วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

ดอกโป๊ยเซียน

โป๊ยเซียน

            

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Euphorbia millii Desmoul.

ชื่อวงศ์ :  EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ :  Crow of Thorns
ชื่อพื้นเมือง :  ระวิงระไว พระเจ้ารอบโลก ว่านเข็มพญาอินทร์ (เชียงใหม่) ไม้รับแขก (ภาคกลาง)                             ว่านมุงเมือง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไป : ต้น      มีลักษณะเป็นไม้อวบน้ำมีหนามแหลมรอบลำต้น อาจมีรูปร่างกลมหรือเหลี่ยม 
                            บิดเป็นเกลียวแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ เมื่อโป๊ยเซียนมีอายุมากขึ้น
                            เนี้อไม้จะแข็งแต่ไม่มีแก่นเหมือนไม้ยืนต้นทั่วไป สีของลำต้นมีสีเทาอม 
                            น้ำตาลถึงเทาอมดำ
                   หนาม  เกิดรอบลำต้น มีลักษณะฐานใหญ่ปลายเรียวแหลม อาจงอขึ้นหรือชี้ลงไม่ 
                           แน่นอน การแตกของหนามอาจแตกเป็นหนามเดี่ยว หนามคู่ หรือหนามกลุ่ม 
                           ตั้งแต่สามหนามขึ้นไป กลุ่มของหนามอาจจะเรียงกันเป็นระเบียบตามแนว
                           ลำต้นเป็นเส้นตรงหรือบิดเป็น เกลียวรอบต้นก็ได้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
                   ใบ     ส่วนใหญ่พื้นใบเป็นสีเขียวถึงเขียวอมเทา บางทีใต้ใบอาจมีสีแดงถึงแดงเข้ม 
                           ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์  รูปใบมีหลายแบบ ได้แก่ รูปไข่ปลายใบมน ใบรีรูปหยดน้ำ 
                           หรือรูปใบพาย ฯลฯ บางสายพันธุ์ใบอาจบิดเป็นเกลียว เป็นคลื่นหรือโค้งงอ 
                           เล็กน้อย
                   ดอก  โป๊ยเซียนเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบดอกสองกลีบ มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่
                          ตรงกลางกลีบดอก โป๊ยเซียนออกดอกเป็นช่อ  แต่ละช่อประกอบด้วยดอกเป็น        
                          คู่ ตั้งแต่ สองดอก สี่ดอก แปดดอก สิบหกดอก สามสิบสองดอก หรือมากกว่า
                          นั้น สีของดอกมีหลายสี เช่น แดง ขาว ครีม เหลือง ส้ม เขียว นอกจากนี้ยังมี
                          หลายสีและลายในดอกเดียวกันแตกต่างกันไปขึ้นกับสายพันธุ์ รูปทรงของดอก
                          มีทั้งทรงกลม ยาว รี เหลี่ยม กลีบดอกตั้งขึ้นคล้ายกรวยหรือผายลงคล้ายร่ม 
                          ขนาดของดอกบางสายพันธุ์มีขนาดเล็กกว่า 1 ซม. แต่บางสายพันธุ์มีขนาด 
                          ใหญ่กว่า 5 ซม. โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่พัฒนาโดยคนไทยบางสายพันธุ์มีขนาด
                          ใหญ่กว่า 6 ซม.
                      ผล    ดอกโป๊ยเซียนหลังจากที่มีการผสมเกสรติดแล้ว จะพบว่าที่บริเวณกลางดอกจะ
                          มีกระเปาะนูนขึ้นมาเป็นผลสีขาว มีลักษณะเป็นพูเล็กๆ 3 พู แต่ละพูจะมีเมล็ด 
                          อยู่หนึ่งเมล็ด เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลคล้ายเมล็ดพริกไทยและจะแตกออกพร้อม       
                          กับดีดเมล็ดกระเด็นออกไป
ฤดูกาลออกดอก : ตลอดปี
การปลูก :  ปลูกเป็นไม้ประดับหรือปลูกเป็นแนวรั้ว
การดูแลรักษา : ทนต่อความแห้งแล้ง ไม่ชอบน้ำ   ดินไม่ควรชื้นและระบายน้ำได้ดี   ชอบแสงสว่าง 
                   รดน้ำเพียงเล็กน้อยเพื่อมิให้แห้ง ถ้าให้ปุ๋ยเดือนละครั้ง  จะให้ดอกสม่ำเสมอ
การขยายพันธุ์ : การปักชำ การเสียบยอด การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การปักชำและ
                    การเสียบยอด
การใช้ประโยชน์ :  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด :  พบในหลายประเทศแถบเขตร้อน








วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

กล้วยไม้



กล้วยไม้







               เป็นพืชดอกที่มีความหลากหลายมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง โดยมีประมาณ 880 สกุล และประมาณ 22,000 ชนิดที่มีการยอมรับ(อาจมากกว่า 25,000 ชนิด) คิดเป็น 6–11% ของพืชมีเมล็ด มีการค้นพบราวๆ 800 ชนิดทุกๆปี มีสกุลใหญ่ๆคือ Bulbophyllum (2,000 ชนิด), Epidendrum (1,500 ชนิด) Dendrobium (1,400 ชนิด) และ Pleurothallis (1,000 ชนิด) สายพันธุ์ของกล้วยไม้ที่ขึ้นและเติบโตในป่าเรียกว่า กล้วยไม้ป่า
กล้วยไม้จัดอยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในวงศ์กล้วยไม้ มีลักษณะการเติบโตแบบต่างๆ ได้แก่
  • กล้วยไม้อากาศ คือ กล้วยไม้ที่เกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น โดยมีรากเกาะอยู่กับกิ่งไม้หรือลำต้น
  • กล้วยไม้ดิน คือ กล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินที่ปกคลุมด้วยอินทรีย์วัตถุ
  • กล้วยไม้หิน คือ กล้วยไม้ที่ขึ้นตามโขดหิน

การจำแนกวงศ์ย่อยของกล้วยไม้
วงศ์ย่อยต่างๆ ของกล้วยไม้ ได้แก่
  • APOSTASIOIDEAE Rchb. f. เป็นกลุ่มไม้ที่เติบโตบนพื้นดินในป่า มี 2 สกุล คือ Apostasia และ Neuwiedia
  • CYPRIPEDIOIDEAE Lindley เป็นกลุ่มไม้ที่เกิดบนพื้นดิน โขดหิน และบนซากอินทรีย์วัตถุ มี 4 สกุล คือ Cypripedium, Paphiopedilum (สกุลรองเท้านารี) , Phragmipedium และ Selenipedium
  • SPIRANTHOIDEAE Dressler ไม่พบกล้วยไม้ไทย และลูกผสมไทยที่เกิดในวงศ์ย่อยนี้
  • ORCHIDOIDEAE ไม่พบในไทย
  • EPIDENDROIDEAE วงศ์ย่อยนี้มีความหลากหลายด้านที่อยู่อาศัย และรูปร่างลักษณะ มีหลายสกุลในวงศ์นี้ที่พบ และนิยมปลูกในประเทศไทย ได้แก่ สกุล Vanilla สกุลต่างๆ ในกลุ่มแคทลียา สกุลหวาย และสกุลสิงโตกลอกตา
  • VANDOIDEAE Endlicher ได้แก่ กลุ่มแวนด้า

การกระจายพันธุ์

พืชในวงศ์กล้วยไม้นั้นสามารถพบได้ทั่วโลก มีถิ่นอาศัยในหลายๆภูมิประเทศยกเว้นทะเลทรายและธารน้ำแข็ง โดยส่วนมากจะพบในเขตร้อนของโลก คือเอเชีย, อเมริกาใต้ และอเมริกากลาง นอกจากนั้นยังพบเหนืออาร์กติก เซอร์เคิลในตอนใต้ของพาทาโกเนียและยังพบบนเกาะแมคควารี ซึ่งใกล้กับทวีปแอนตาร์กติกา
การกระจายพันธุ์โดยสังเขปมีดังนี้:
  • อเมริกาเขตร้อน: 250 - 270 สกุล
  • เอเชียเขตร้อน: 260 - 300 สกุล
  • แอฟริกาเขตร้อน: 230 - 270 สกุล
  • โอเชียเนีย: 50 - 70 สกุล
  • ยุโรปและเอเชียเขตอบอุ่น: 40 - 60 สกุล
  • อเมริกาเหนือ: 20 - 25 สกุล

นุกรมวิธาน

ในระบบ APG II (2003) พืชวงศ์นี้ถูกจัดอยู่ในอันดับ Asparagales ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ห้าวงศ์ย่อยที่ได้รับการยอมรับ แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์นี้แยกตามระบบของ APG :


Apostasioideae: 2 สกุล 16 ชนิด, เอเชียตะวันตกเฉียงใต้



Cypripedioideae: 5 สกุล 130 ชนิด, เขตอบอุ่นอย่างอเมริกาเขตร้อน และเอเชียเขตร้อน

 Monandrae 

Vanilloideae: 15 สกุล 180 ชนิด, เขตร้อนชื้นและพื้นที่ใกล้เขตร้อน, ทางตะวันออกของอเมริกาเหนือ



Epidendroideae: มากกว่า 500 สกุล ประมาณ 20,000 ชนิด, พบทั่วโลก


Orchidoideae: 208 สกุล 3,630 ชนิด, พบทั่วโลก






   ประวัติกล้วยไม้

กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้า ประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้ายไม้ เลี้ยงต้นกล้ายไม้จน กระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง
แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็น อาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของ กล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา
การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทย จากการสำรวจในอดีตพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกล้วยไม้อยู่ในป่าธรรมขาติ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิด ทั้งประเภทที่พบอยู่บนต้นไม้ บนพื้นผิวของภูเขาและบนพื้นดิน สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทยเอื้ออำนวยแก่การเจริญงอกงาม ของกล้วยไม้เป็นอย่างมาก ในอดีตชาวชนบทของไทย โดยเฉพาะในแหล่งที่เคยมีกล้วยไม้ป่าอุดมสมบูรณ์ ได้นำกล้ายไม้ป่ามาปลูกเลี้ยงโดยเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำกล้วยไม้มาปลูกไว้กับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ไกล้ๆ บ้านเรือน การเลี้ยงกล้วยไม้เริ่มเปลี่ยนมาเป็นการปลูกเลี้ยงอย่างจริงจังโดยชาวตะวัน ตกผู้หนึ่ง ที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เห็นว่าสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเหมาะสมสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จึงได้สร้างเรือนกล้วยไม้อย่างง่ายๆ และนำเอากล้วยไม้ป่าจากเขตร้อนของอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกล้วยไม้ในเอเชียและเอเซียแปซิฟิค โดยนำมาปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรกในขณะเดียวกันก็มีเจ้านายชั้นสูงและบรรดา ข้าราชการที่ใกล้ชิด ให้ความสนใจเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกเช่นกัน นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มบุคคลสูงอายุซึ่งเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อความสุขทางใจ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ อย่างไรก็ตามการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบ คือ ในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้มีเงินในยุคนั้น และเป็นการปลูกเลี้ยงที่นิยมกล้วยไม้พันธุ์ต่างประเทศ ส่วนกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในป่าของประเทศไทยจะนิยมและยกย่องเฉพาะพันธุ์ ที่หายากและมีราคาแพง
หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปี 2475 สภาพการเลี้ยงก็ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบเช่นเดิม แต่ผลงานเกี่ยวกับการผสมพันธุ์กล้วยไม้ในต่างประเทศเริ่มมีอิทธิพลกระตุ้น ให้ผู้เกี่ยวข้องกับวงการกล้วยไม้ในประเทศไทยสนใจกล้วยไม้ลูกผสมมากขึ้น มีการสั่งกล้วยไม้ลูกผสมจากประเทศในทวีปยุโรป สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เพื่อนำเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทย การพัฒนาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นไปอย่างจริงจัง เมื่อประมาณปี 2493 โดยได้มีการวิจัย นับตั้งแต่การรวบรวมปลูกในระดับพื้นฐาน ต่อมาในปี 2497 ได้เริ่มเปิดการฝึกอบรมการเลี้ยงกล้วยไม้ให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และมีการจัดตั้งชมรมกล้วยไม้ขึ้นในปี 2498 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมาคมกล้วยไม้เมื่อปี 2500 และในปีเดียวกันนี้ ได้เริ่มมีการนำเอาความรู้ในเรื่องกล้วยไม้และแนวความคิดในการพัฒนาวงการ กล้วยไม้ออกเผยแพร่ทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ และมีการผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ ทำให้วงการกล้วยไม้ของประเทศไทย ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมและสโมสรเกี่ยวกับกล้วยไม้ขึ้นในภาคและจังหวัด ต่างๆ ในปี 2501 ได้มีการเปิดการสอนวิชากล้วยไม้ขึ้นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก เพื่อผลิตนักวิชาการและพัฒนางานวิจัยกล้วยไม้ของประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไม่ได้จำกัดอยู่ภายในวง แคบอีกต่อไป จากการส่งเสริมดังกล่าว ทำให้มีการนำเข้ากล้วยไม้ลูกผสมจากต่างประเทศ เช่น จากฮาวายและสิงคโปร์จำนวนมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ที่มีความรู้หันมารวบรวมพันธุ์ผสมและเพาะพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ใน ประเทศ ทั้งที่เป็นพ่อแม่พันธุ์จากป่า และลูกผสมที่สั่งเข้ามาแล้วในอดีต ปี 2506 วงการกล้วยไม้ของไทยได้เริ่มมีแผนในการขยายข่ายงานออกไปประสานกับวงการกล้วย ไม้สากล เพื่อยกระดับวงการกล้วยไม้ในประเทศให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ปี 2509 เริ่มการทำสวนกล้วยไม้ตัดดอกอย่างจริงจัง เมื่อไทยเริ่มส่งออกกล้วยไม้ไปสู่ตลาดต่างประเทศในยุโรปตะวันตก เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ต่อมาจึงขยายตลาดไปสู่ประเทศญี่ปุ่น แคนาดา และบางรัฐของสหรัฐอเมริกา